เนื้อหา พร้อมแนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

BoxSet พิชิตข้อสอบท้องถิ่น 67

BoxSet พิชิตข้อสอบท้องถิ่น 67 วิดีโอติวภาค ก. กฎหมาย 11 ฉบับ จำนวน 34 ชั่วโมง พร้อมคู่มือเตรียมสอบภาค ก. วิชาความสามารถในการศึกษาวิเคราะห์และสรุปเหตุผล วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ และเจาะข้อสอบกฎหมายภาค ก. ท้องถิ่น 1,000 ข้อ ราคา 1,990.- จัดส่งฟรี

ได้มีการยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) 2543 เป็น ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

เนื้อหาพร้อมแนวข้อสอบ 50 ข้อ


1.คำนิยาม

          “งบประมาณ” หมายความว่า แผนงาน หรืองานสำหรับประมาณการด้านรายรับและรายจ่ายแสดงในรูปตัวเลข จำนวนเงิน การตั้งงบประมาณ คือ การแสดงแผนดำเนินงานออกเป็นตัวเลขจำนวนเงิน

          “แผนงาน” หมายความว่า ภารกิจแต่ละด้านที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ

          “งาน” หมายความว่า กิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานที่กำหนดไว้ในแต่ละแผนงาน

          “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล

          “สภาท้องถิ่น” หมายความว่า สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สภาเทศบาล สภาองค์การบริหารส่วนตำบล

          “งบประมาณรายจ่าย” หมายความว่า งบประมาณที่สภาท้องถิ่นให้ความเห็นชอบและผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติ แล้วแต่กรณี ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ ทั้งนี้ รวมทั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมและการโอนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณด้วย

          “เงินนอกงบประมาณ” หมายความว่า เงินทั้งปวงที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากเงินที่ปรากฏตามงบประมาณรายจ่าย

          “ปีงบประมาณ” หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ของปีหนึ่งถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไปและให้ใช้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปนั้นเป็นชื่อสำหรับปีงบประมาณนั้น

          “หนี้” หมายความว่า ข้อผูกพันที่ต้องจ่าย หรืออาจจะต้องจ่ายเป็นเงิน สิ่งของหรือบริการไม่ว่าจะเป็นข้อผูกพันอันเกิดจากการกู้ยืม การค้ำประกัน การซื้อ หรือการจ้างโดยวิธีใช้เครดิตหรือจากการอื่นใด

          “หน่วยงาน” หมายความว่า สำนัก กอง หรือส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ

          “ผู้บริหารท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรีและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

          “เจ้าหน้าที่งบประมาณ” หมายความว่า ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปลัดเทศบาลและปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

2.ลักษณะของงบประมาณ

          ข้อ 9 เงินรายจ่ายประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้จัดทำเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปี และให้มีประมาณการรายรับประกอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีด้วย

          ข้อ 10 งบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจจำแนกเป็นงบประมาณรายจ่ายทั่วไป และงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ

          ข้อ 11 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจจัดทำงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการได้ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่นและผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบหรือนายอำเภออนุมัติ แล้วแต่กรณีตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ

          ข้อ 12 ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น อาจสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายทั่วไปไปตั้งจ่ายในงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ หรือสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการไปตั้งจ่ายในงบประมาณรายจ่ายทั่วไปได้

          ข้อ 13 งบประมาณรายจ่ายทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย รายจ่ายงบกลางและรายจ่ายตามแผนงาน

          ข้อ 14 รายจ่ายตามแผนงาน จำแนกเป็นสองลักษณะ คือ

          (1) รายจ่ายประจำ ประกอบด้วย

                    (ก) งบบุคลากร หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานบุคลากรท้องถิ่น ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน ค่าจ้างประจำ และค่าจ้างชั่วคราว

                    (ข) งบดำเนินงาน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจำ ได้แก่รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค

                    (ค) งบเงินอุดหนุน หมายถึง เงินที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งงบประมาณอุดหนุนให้แก่หน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุนเพื่อให้ดำเนินการตามภารกิจที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย

                    (ง) งบรายจ่ายอื่น หมายถึง รายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะประเภทงบรายจ่ายใดงบรายจ่ายหนึ่งหรือรายจ่ายที่กำหนดให้ใช้จ่ายในงบรายจ่ายนี้

          (2) รายจ่ายเพื่อการลงทุน ได้แก่ งบลงทุน ซึ่งเป็นรายจ่ายในลักษณะค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว

          รายละเอียดประเภทรายจ่ายงบกลาง งบรายจ่ายต่าง ๆ และเงินนอกงบประมาณให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด

          ข้อ 17 ประมาณการรายรับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย หมวดรายได้ซึ่งจำแนกเป็น

          (1) หมวดภาษีอากร

          (2) หมวดค่าธรรมเนียม ค่าปรับและใบอนุญาต

          (3) หมวดรายได้จากทรัพย์สิน

          (4) หมวดรายได้จากสาธารณูปโภค และกิจการพาณิชย์

          (5) หมวดเงินอุดหนุน

          (6) หมวดรายได้เบ็ดเตล็ด

          ข้อ 18 รายละเอียดของหมวดรายได้ และงบรายจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด

          ข้อ 19 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะกำหนดให้มีเงินสำรองจ่ายในงบกลาง เพื่อกรณีฉุกเฉินที่มีเหตุสาธารณภัยเกิดขึ้น หรือกรณีการป้องกันและยับยั้งก่อนเกิดสาธารณภัย หรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัย หรือกรณีฉุกเฉินเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นส่วนรวมได้

          การใช้เงินสำรองจ่ายตามวรรคหนึ่งเป็นอำนาจของผู้บริหารท้องถิ่น

          ข้อ 20 งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมให้ตราเป็นงบประมาณรายจ่ายเช่นเดียวกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี

          ข้อ 21 การตรางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จะกระทำได้ต่อเมื่องบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติแล้วไม่พอแก่การใช้จ่าย หรือมีความจำเป็นต้องตั้งรายจ่ายขึ้นใหม่ทั้งนี้ ต้องแสดงให้ปรากฏในงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวด้วยว่า จะจ่ายจากเงินรายได้ที่มิได้ตั้งรับไว้ในประมาณการรายรับหรือจากเงินรายได้ที่เกินยอดรวมทั้งสิ้นของประมาณการรายรับประจำปี

3.วิธีการจัดทำงบประมาณ

          ข้อ 22 ให้ใช้แผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณ ให้หัวหน้าหน่วยงานจัดทำประมาณการรายรับ และประมาณการรายจ่ายและให้หัวหน้าหน่วยงานคลังรวบรวมรายงานการเงินและสถิติต่าง ๆ ของทุกหน่วยงานเพื่อใช้ประกอบการคำนวณขอตั้งงบประมาณเสนอต่อเจ้าหน้าที่งบประมาณ

          ข้อ 23 ให้เจ้าหน้าที่งบประมาณทำการพิจารณาตรวจสอบ วิเคราะห์ และแก้ไขงบประมาณในชั้นต้น แล้วเสนอต่อผู้บริหารท้องถิ่น

          เมื่อผู้บริหารท้องถิ่น ได้พิจารณาอนุมัติให้ตั้งเงินงบประมาณยอดใดเป็นงบประมาณประจำปีแล้วให้เจ้าหน้าที่งบประมาณรวบรวมและจัดทำเป็นร่างงบประมาณรายจ่ายเสนอต่อผู้บริหารท้องถิ่นอีกครั้งหนึ่งเพื่อผู้บริหารท้องถิ่นได้นำเสนอต่อสภาท้องถิ่นภายในวันที่ 15 สิงหาคม

          ข้อ 24 ในกรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถนำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีเสนอต่อสภาท้องถิ่นได้ทันภายในวันที่ 15 สิงหาคม ให้ผู้บริหารท้องถิ่นรายงานให้สภาท้องถิ่นทราบโดยอาจกำหนดระยะเวลาที่คาดหมายว่าจะเสนอร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้สภาท้องถิ่นเพื่อให้ความเห็นชอบด้วยก็ได้ แล้วให้ผู้บริหารท้องถิ่นรายงานให้ผู้กำกับดูแลทราบด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีสามารถใช้บังคับได้ทันในวันเริ่มต้นปีงบประมาณ

4.การรายงาน

          ข้อ 38 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดส่งสำเนางบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่ได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติให้ประกาศใช้แล้วไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลให้ส่งนายอำเภอ เพื่อทราบ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 วันนับแต่วันสิ้นสุดการประกาศโดยเปิดเผยเพื่อให้ประชาชนทราบ ณ สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้เผยแพร่ทางเว็บไซต์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย

          ข้อ 39 เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกาศรายงานการรับ – จ่ายเงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดนั้น ทั้งงบประมาณรายจ่ายและเงินนอกงบประมาณไว้โดยเปิดเผย ณ สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนทราบภายในกำหนด 30 วันตามแบบที่อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด แล้วส่งสำเนารายงานการรับ – จ่ายเงินดังกล่าวไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อทราบและเก็บเป็นข้อมูลระดับจังหวัดภายในระยะเวลา 15 วัหลังจากนั้นแล้วให้จังหวัดรายงานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทราบ

แนวข้อสอบ 50 ข้อ

1. การออกระเบียบฉบับนี้เพื่อให้การบริหารงานด้านการงบประมาณสิ้นสุดที่จุดใด

1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2. อำเภอ

3. จังหวัด*

4. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

2. ใครเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้

1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

3. ปลัดกระทรวงมหาดไทย*

4. ผู้ว่าราชการจังหวัด

3. อำนาจตีความ วินิจฉัยปัญหาตามระเบียบนี้ ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจมอบอำนาจเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดได้

1. รองปลัดกระทรวงมหาดไทย

2. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

3. ผู้ว่าราชการจังหวัด*

4. ผู้บริหารท้องถิ่น

4. ข้อใดหมายถึง แผนงานหรืองานสำหรับประมาณการด้านรายรับและรายจ่ายแสดงในรูปตัวเลขจำนวนเงิน

1. งบประมาณรายจ่าย

2. งบประมาณ*

3. แผนงาน

4. งาน

5. ข้อใดหมายถึง ภารกิจแต่ละด้านที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ

1. งบประมาณรายจ่าย

2. งบประมาณ

3. แผนงาน*

4. งาน

6. ข้อใดหมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานที่กำหนดไว้ในแต่ละแผนงาน

1. งบประมาณรายจ่าย

2. งบประมาณ

3. แผนงาน

4. งาน*

7. ข้อใดไม่ใช่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามระเบียบนี้

1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด

2. เทศบาล

3. องค์การบริหารส่วนตำบล

4. เมืองพัทยา*

8.  ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ “งบประมาณรายจ่าย”

1. งบประมาณที่สภาท้องถิ่นให้ความเห็นชอบ

2. ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติ

3. นายอำเภออนุมัติ

4. ถูกทุกข้อ*

9. ข้อใดคือความหมายของ “ปีงบประมาณ”

1. ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ของปีหนึ่ง

2. ถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป

3. ให้ใช้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปนั้นเป็นชื่อสำหรับปีงบประมาณนั้น

4. ถูกทุกข้อ*

10. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดเป็น “เจ้าหน้าที่งบประมาณ”

1. ผู้ว่าราชการจังหวัด

2. คณะผู้บริหารท้องถิ่น

3. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล*

4. สำนักงบประมาณ

11. การเบิกจ่ายเงินโดยอาศัยงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ล่วงมาแล้วให้กระทำได้เฉพาะรายจ่ายในหมวดใด

1. หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ

2. หมวดค่าจ้างชั่วคราว

3. หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ

4. ถูกทุกข้อ*

12. ใครเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดทำงบประมาณตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้

1. ผู้ว่าราชการจังหวัด

2. คณะผู้บริหารท้องถิ่น

3. ปลัดเทศบาล*

4. ผู้อำนวยการกองคลัง

13. ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่งบประมาณ

1. เรียกให้หน่วยงานต่าง ๆ เสนอประมาณการรายรับและรายจ่ายตามแบบและ หลักเกณฑ์

2. วิเคราะห์งบประมาณและการจ่ายเงินของหน่วยงานต่าง ๆ

3. สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารงบประมาณ

4. ถูกทุกข้อ*

14. นอกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีแล้วให้จัดทำสิ่งใดประกอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีด้วย

1. ประมาณการรายรับ*

2. ประมาณการรายจ่าย

3. ประมาณการรายได้

4. ประมาณการเงินออก

15. เงินรายจ่ายประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้จัดทำเป็น

1. งบประมาณรายจ่ายประจำปี*

2. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

3. ประมาณการรายรับ

4. ประมาณการรายจ่าย

16. งบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจำแนกได้ตามข้อใด

1. งบประมาณรายจ่ายทั่วไป

2. งบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ

3. รายจ่ายงบกลาง และรายจ่ายตามแผนงาน

4. งบประมาณรายจ่ายทั่วไป และ งบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ*

17. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจัดทำงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการได้โดยได้รับความเห็นชอบจาก

1. ผู้ว่าราชการจังหวัด

2. คณะผู้บริหารท้องถิ่น

3. ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. สภาท้องถิ่น*

18. งบประมาณตามข้อใดที่อาจตั้งจ่ายเงินช่วยเหลือระหว่างกันได้

1. งบประมาณรายจ่ายทั่วไป

2. งบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ

3. รายจ่ายงบกลาง และรายจ่ายตามแผนงาน

4. งบประมาณรายจ่ายทั่วไป และ งบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ*

19. งบประมาณรายจ่ายทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย

1. งบประมาณรายจ่ายทั่วไป

2. งบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ

3. รายจ่ายงบกลาง และรายจ่ายตามแผนงาน*

4. งบประมาณรายจ่ายทั่วไป และ งบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ

20. รายจ่ายตามแผนงานจำแนกเป็นกี่ลักษณะ

1. 2 ลักษณะ*

2. 3 ลักษณะ

3. 4 ลักษณะ

4. 5 ลักษณะ

21. รายจ่ายตามแผนงาน คือ

1. งบประมาณรายจ่ายทั่วไป และ รายจ่ายประจำ

2. รายจ่ายประจำ และ รายจ่ายเพื่อการลงทุน*

3. งบประมาณรายจ่ายทั่วไป และ งบประมาณรายจ่ายเฉพาะ

4. รายจ่ายเพื่อการลงทุน และ งบประมาณรายจ่ายเฉพาะ

22. ข้อใดเป็น รายจ่ายประจำ

1. หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ

2. หมวดค่าสาธารณูปโภค

3. หมวดเงินอุดหนุน

4. ถูกทุกข้อ*

23. ข้อใดเป็น รายจ่ายเพื่อการลงทุน

1. หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ

2. หมวดค่าสาธารณูปโภค

3. หมวดเงินอุดหนุน

4. หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิงก่อสร้าง*

24. หน่วยงานใดเป็นผู้กำหนดรายละเอียดประเภทรายจ่ายงบกลาง หมวดรายจ่ายต่าง ๆ และเงินนอกงบประมาณ

1. กระทรวงมหาดไทย

2. กระทรวงการคลัง

3. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น*

4. สำนักงบประมาณ

25. ประมาณการรายรับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยรายได้ซึ่งจำแนกได้ตามข้อใด

1. หมวดภาษีอากร

2. หมวดค่าธรรมเนียม ค่าปรับและใบอนุญาต

3. หมวดเงินอุดหนุน

4. ถูกทุกข้อ*

26. รายละเอียดประเภทรายได้และรายจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้หน่วยงานใดกำหนด

1. กระทรวงมหาดไทย

2. กระทรวงการคลัง

3. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น*

4. สำนักงบประมาณ

27. งบประมาณรายจ่ายจะกำหนดให้มีเงินสำรองจ่ายก็ได้ โดยให้เป็นอำนาจของผู้ใด

1. ผู้ว่าราชการจังหวัด

2. คณะผู้บริหารท้องถิ่น*

3. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

4. ผู้อำนวยการกองคลัง

28. การตรางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จะกระทำได้ต้องเป็นไปตามข้อใด

1. งบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับอนุมัติแล้วไม่พอแก่การใช้จ่าย

2. มีความจำเป็นต้องตั้งรายจ่ายขึ้นใหม่

3. ต้องแสดงให้ปรากฏในงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวด้วยว่าจะจ่ายจากเงินรายได้ที่มิได้ตั้งรับไว้ในประมาณการรายรับ

4. ถูกทุกข้อ*

29. ใครมีหน้าที่จัดทำประมาณการรายรับและประมาณการรายจ่าย

1. ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2. หัวหน้าหน่วยงาน*

3. หัวหน้าหน่วยงานคลัง

4. ถูกทุกข้อ

30. ใครมีหน้าที่รวบรวมรายงานการเงินและสถิติต่าง ๆ ของทุกหน่วยงานเพื่อใช้ประกอบการคำนวณขอตั้งงบประมาณเสนอต่อเจ้าหน้าที่งบประมาณ

1. ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2. หัวหน้าหน่วยงาน

3. หัวหน้าหน่วยงานคลัง*

4. ถูกทุกข้อ

31. เจ้าหน้าที่งบประมาณ ต้องทำการพิจารณาตรวจสอบ วิเคราะห์ และแก้ไข งบประมาณในขั้นต้นแล้วให้เสนอต่อผู้ใด

1. ผู้ว่าราชการจังหวัด

2. คณะผู้บริหารท้องถิ่น*

3. ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. ผู้อำนวยการกองคลัง

32. เมื่อคณะผู้บริหารท้องถิ่นได้พิจารณาอนุมัติให้ตั้งเงินงบประมาณแล้ว ให้เจ้าหน้าที่งบประมาณรวบรวมและจัดทำเป็นร่างงบประมาณรายจ่ายเสนอต่อคณะผู้บริหารท้องถิ่นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำเสนอต่อสภาท้องถิ่นภายกำหนดเวลาตามข้อใด

1. ภายใน 15 วัน

2. ภายในวันที่ 15 สิงหาคม*

3. ภายใน 30 วัน

4. ภายในวันที่ 30 กันยายน

33. คณะผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถที่จะนำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีเสนอต่อสภาท้องถิ่นได้ทันเวลาให้ขออนุมัติและรายงานผู้ใดทราบ

1. ขออนุมัติต่อสภาท้องถิ่นแล้วรายงานปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2. ขออนุมัติต่อสภาท้องถิ่นแล้วรายงานนายอำเภอ

3. ขออนุมัติต่อสภาท้องถิ่นแล้วรายงานผู้ว่าราชการจังหวัด*

4. ขออนุมัติต่อสภาท้องถิ่นแล้วรายงานท้องถิ่นจังหวัด

34. คณะผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถที่จะนำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีเสนอต่อสภาท้องถิ่นได้ทันเวลาให้ขออนุมัติและรายงานผู้ใดทราบ

1. ขออนุมัติต่อสภาท้องถิ่นแล้วรายงานปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2. ขออนุมัติต่อสภาท้องถิ่นแล้วรายงานนายอำเภอ*

3. ขออนุมัติต่อสภาท้องถิ่นแล้วรายงานผู้ว่าราชการจังหวัด

4. ขออนุมัติต่อสภาท้องถิ่นแล้วรายงานท้องถิ่นจังหวัด

35. หากนายกเทศมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่าจะไม่สามารถนำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีถัดไปเสนอต่อสภาเทศบาลได้ทันภายในเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินการตามข้อใด

1. รายงานให้สภาท้องถิ่นทราบ*

2. ชี้แจงเหตุผลต่อประธานสภาเทศบาลก่อนวันที่ 15 สิงหาคม

3. แจงเหตุผลต่อผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนวันที่ 14 สิงหาคม

4. ชี้แจงเหตุผลต่อผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนวันที่ 15 สิงหาคม

36.  การโอนเงินงบประมาณรายจ่ายต่าง ๆ ให้เป็นอำนาจอนุมัติของผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใด คณะผู้บริหารท้องถิ่น

1. ประธานสภาท้องถิ่น

2. คณะผู้บริหารท้องถิ่น*

3. ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. สภาท้องถิ่น

37. การโอนเงินงบประมาณรายจ่ายในหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ที่ทำให้ลักษณะ ปริมาณ คุณภาพเปลี่ยน หรือโอนไปตั้งจ่ายเป็นรายการใหม่ ให้เป็นอำนาจของ

1. ประธานสภาท้องถิ่น

2. คณะผู้บริหารท้องถิ่น

3. ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. สภาท้องถิ่น*

38. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงประมาณการรายรับหรืองบประมาณรายจ่าย ให้เป็นอำนาจอนุมัติของ

1. ประธานสภาท้องถิ่น

2. คณะผู้บริหารท้องถิ่น*

3. ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. สภาท้องถิ่น

39. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณรายจ่ายในหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ที่ทำให้ลักษณะ ปริมาณ คุณภาพเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ก่อสร้างให้เป็นอำนาจอนุมัติของ

1. ประธานสภาท้องถิ่น

2. คณะผู้บริหารท้องถิ่น

3. ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. สภาท้องถิ่น*

40. การโอน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณรายจ่ายเงินประเภทอื่นที่ต้องนำมาตั้งงบประมาณรายจ่ายใครมีอำนาจโอนเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจแล้ว

1. ประธานสภาท้องถิ่น

2. คณะผู้บริหารท้องถิ่น

3. เจ้าหน้าที่งบประมาณ*

4. สภาท้องถิ่น

41. การโอนเงินงบประมาณรายจ่าย หรือการแก้ไข เปลี่ยนแปลงคำชี้แจงประมาณการรายรับและงบประมาณรายจ่าย ของเทศบาล ถ้าได้ประกาศโดยเปิดเผยเพื่อให้ประชาชนทราบแล้ว ให้แจ้งการประกาศดังกล่าวแก่ผู้ใด

1. ผู้ว่าราชการจังหวัด*

2. นายอำเภอ

3. คณะผู้บริหารท้องถิ่น

4. ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

42. การโอนเงินงบประมาณรายจ่าย หรือการแก้ไข เปลี่ยนแปลงคำชี้แจงประมาณการรายรับและงบประมาณรายจ่าย ขององค์การบริหารส่วนตำบล ถ้าได้ประกาศโดยเปิดเผยเพื่อให้ประชาชนทราบแล้ว ให้แจ้งการประกาศดังกล่าวแก่ผู้ใด

1. ผู้ว่าราชการจังหวัด

2. นายอำเภอ*

3. คณะผู้บริหารท้องถิ่น

4. ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

43. ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมงบประมาณรายจ่ายและเงินนอกงบประมาณ

1. คณะผู้บริหารท้องถิ่น

2. เจ้าหน้าที่งบประมาณ

3. คณะผู้บริหารท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่งบประมาณ*

4. หัวหน้าหน่วยงานคลัง

44. ใครเป็นผู้ช่วยเหลือในการรับผิดชอบการควบคุมงบประมาณรายจ่ายและเงินนอกงบประมาณ

1. คณะผู้บริหารท้องถิ่น

2. เจ้าหน้าที่งบประมาณ

3. คณะผู้บริหารท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่งบประมาณ

4. หัวหน้าหน่วยงานคลัง*

45. ข้อใดเป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงานคลังในการควบคุมงบประมาณรายจ่ายและเงินนอกงบประมาณ

1. ควบคุมการรับ และการเบิกจ่ายเงิน

2. ควบคุมบัญชี รายงาน และเอกสารอื่นเกี่ยวกับการรับจ่ายเงิน และหนี้

3. ตรวจเอกสารการรับจ่ายเงิน การขอเบิกเงิน และการก่อหนี้ผูกพัน

4. ถูกทุกข้อ*

46. การก่อหนี้ผูกพัน งบประมาณรายจ่ายเกินกว่าหนึ่งปีงบประมาณ ให้กระทำได้โดยความเห็นขอบของ

1. ประธานสภาท้องถิ่น

2. คณะผู้บริหารท้องถิ่น

3. ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. สภาท้องถิ่น*

47. โดยปกติให้ก่อหนี้ผูกพันได้ไม่เกินกี่ปีงบประมาณราย

1. 3 ปี*                  

2. 4 ปี

3. 5 ปี                                   

4. 6 ปี

48. ให้เทศบาลจัดส่งสำเนางบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่ได้รับอนุมัติให้ประกาศใช้แล้วไปยังผู้ใดเพื่อทราบ ภายในระยะเวลาไม่เกินกี่วันนับแต่วันสิ้นสุดการประกาศ

1. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบภายใน 15 วัน*

2. ให้นายอำเภอทราบภายใน 15 วัน

3. ให้คณะผู้บริหารท้องถิ่นทราบภายใน 15 วัน

4. ให้ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบภายใน 15 วัน

49. ให้องค์การบริหารส่วนตำบลจัดส่งสำเนางบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่ได้รับอนุมัติให้ประกาศใช้แล้วไปยังผู้ใดเพื่อทราบ ภายในระยะเวลาไม่เกินกี่วันนับแต่วันสิ้นสุดการประกาศ

1. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบภายใน 15 วัน

2. ให้นายอำเภอทราบภายใน 15 วัน*

3. ให้คณะผู้บริหารท้องถิ่นทราบภายใน 15 วัน

4. ให้ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบภายใน 15 วัน

50. เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกาศรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุด ภายในกำหนดกี่วัน แล้วแล้วส่งสำเนารายงานการรับ- จ่ายดังกล่าวไปให้ผู้ใดทราบด้วย

1. ภายใน 15 วัน และส่งไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ

2. ภายใน 30 วัน และส่งไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ*

3. ภายใน 15 วัน และส่งไปให้นายอำเภอทราบ

4. ภายใน 30 วัน และส่งไปให้นายอำเภอทราบ

คู่มือเตรียมสอบภาค ก. พร้อมเจาะข้อสอบ 1,000 ข้อ

ภาค ก. ครบชุด 2 เล่ม เนื้อหาวิชาความสามารถทั่วไป วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (กฎหมาย 13 ฉบับ) วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ พร้อมเจาะข้อสอบ 1,000 ข้อ ราคา 990.- จัดส่งฟรี

เจาะข้อสอบกฎหมายภาค ก. ท้องถิ่น 1,000 ข้อ

เจาะข้อสอบ 1,000 ข้อ ความสามารถในการวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจหรือสังคม และวิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (กฎหมาย 13 ฉบับ) ราคา 450.- จัดส่งฟรี