รัฐธรรมนูญ เรื่องที่ 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
คลิปนี้ตัดมาจาก
ชุดติว “BoxSet พิชิตข้อสอบท้องถิ่น 2566”
คลิก ดูรายละเอียดและสั่งซื้อ
กรอบแนวคิดในการศึกษา รัฐธรรมนูญ เรื่องที่ 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
ข้อสอบส่วนนี้จะถามภาพรวมทั้งหมด ให้เราจำ “หัวข้อ” กับ “เนื้อหาภายใน” ให้ดี โดยหัวข้อของคำถามอาจจะขึ้นต้นด้วย ข้อใดคือ… ข้อใดเป็น… ข้อใดไม่ใช่…
- ข้อใดคือ สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
- ข้อใดเป็น เสรีภาพของสื่อมวลชน
- ข้อใดถือเป็น สิทธิชุมชน
- ข้อใดคือ สิทธิในการรวมกลุ่ม ชุมนุม และจัดตั้งพรรคการเมือง
- “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชนหรือหมู่คณะ” เป็นสิทธิในข้อใด
- ข้อใดไม่ใช่สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยด้านความเสมอภาค
หลักทั่วไป
- สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะ ในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิ และเสรีภาพที่จะทำการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพ ไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
- การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้กฎหมายดังกล่าว ต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพไว้ด้วย
ความเสมอภาค
- บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
- ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
- บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐย่อมมีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จำกัดไว้ในกฎหมายเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม
สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
- บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้
- บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การจับและการคุมขังบุคคลจะกระทำมิได้เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
- การเกณฑ์แรงงานจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อป้องกันภัยพิบัติสาธารณะหรือในขณะที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ
- บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติ หรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
- บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว
- บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการค้นเคหสถาน หรือที่รโหฐานจะกระทำมิได้เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
การค้นเคหสถาน หรือที่รโหฐานจะกระทำมิได้เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล
- บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของ บุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของ ประชาชน
- บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารถึงกันไม่ว่าในทางใด ๆ การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกัน รวมทั้งการกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ล่วงรู้หรือได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกันจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
- บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่
- บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
- การเนรเทศบุคคลสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้ผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักรจะกระทำมิได้ และการถอนสัญชาติของบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดจะกระทำมิได้
เสรีภาพของสื่อมวลชน
- บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร หรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
- การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามจะกระทำมิได้ การให้นำข่าวสารหรือข้อความใด ๆ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนจัดทำขึ้นไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจ ก่อนนำไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือสื่อใด ๆ จะกระทำมิได้เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม
สิทธิในทรัพย์สิน
- บุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ตราขึ้นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรม
สิทธิชุมชน
บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ
- ได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ
- เสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐและได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว
- ฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ
- อนุรักษ์ฟื้นฟูหรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี อันดีงามทั้งของท้องถิ่นและของชาติ
- จัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
- เข้าชื่อกันเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐให้ดำเนินการใดอันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน หรือชุมชน หรืองดเว้นการดำเนินการใดอันจะกระทบต่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุขของประชาชนหรือชุมชน และได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว
- จัดให้มีระบบสวัสดิการของชุมชน
สิทธิในการรวมกลุ่ม ชุมนุม และจัดตั้งพรรคการเมือง
- บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชนหรือหมู่คณะ
- บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน หรือเพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
- บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีทางการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สิทธิของผู้บริโภค สาธารณสุข และสิทธิของมารดา และบุคคลเกิน 60 ปี
- สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง
- บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- สิทธิของมารดาในช่วงระหว่างก่อนและหลังการคลอดบุตรย่อมได้รับความคุ้มครอง และช่วยเหลือ
- บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และบุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิ ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
จะได้เบี้ยยังชีพต้องเข้า 2 เงื่อนไข คือ บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปี + ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ
สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
- บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้
- ผู้ใดทราบว่ามีการกระทำย่อมมีสิทธิร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวได้
- ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่รับดำเนินการตามที่ร้องขอ หรือไม่ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ผู้ร้องขอจะยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้
อำนาจวินิจฉัยการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นของ ศาลรัฐธรรมนูญ
แนวข้อสอบ (ดูเฉลยในวิดีโอ)
9. ข้อใดไม่ใช่สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยด้านความเสมอภาค1. ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
2. บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย
3. บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา
4. ข้าราชการย่อมมีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
10. ข้อใดเป็นสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
1. บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่
2. บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
3. บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา
4. ถูกทุกข้อ
11. เสรีภาพของสื่อมวลชน ข้อใดถูกต้อง
1. บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร
2. บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
3. การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามจะกระทำมิได้
4. ถูกทุกข้อ
12. ข้อใดถือเป็นสิทธิชุมชน
1. บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้เสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐ
2. บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้ฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการ
3. บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้เสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐและได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว
4. ถูกทุกข้อ
13. “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชนหรือหมู่คณะ” เป็นสิทธิในข้อใด
1. สิทธิในทรัพย์สิน
2. สิทธิชุมชน
3. สิทธิในการรวมกลุ่ม ชุมนุม และจัดตั้งพรรคการเมือง
4. สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
14. บุคคลซึ่งมีอายุเกินกี่ปีและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และบุคคลผู้ยากไร้ ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
1. 50 ปี
2. 55 ปี
3. 60 ปี
4. 61 ปี
15. ผู้ใดทราบว่ามีการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อให้องค์การใดวินิจฉัยได้
1. ศาลรัฐธรรมนูญ
2. คณะกรรมการการเลือกตั้ง
3. ผู้ตรวจการแผ่นดิน
4. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สำหรับท่านใดที่ดูวิดีโอ และอ่านเนื้อหานี้แล้ว สนใจ “BoxSet พิชิตข้อสอบท้องถิ่น 2566” แบบหวังผลในลำดับเรียกบรรจุ ราคา 1,990.- จัดส่งฟรี รายละเอียดที่จะได้รับ
- Flash Drive (แฟลชไดร์ฟ) จำนวน 1 อัน ขนาด 32GB บรรจุวิดีโอติวภาค ก. กฎหมาย 11 รายวิชา จำนวน 29 ชั้วโมง
- คู่มือประกอบวิดีโอติวภาค ก. กฎหมาย 11 ฉบับ (ทุกตำแหน่งต้องสอบ) จำนวน 338 หน้า
- คู่มือเตรียมสอบภาค ก. ท้องถิ่น (ทุกตำแหน่งต้องสอบ) จำนวน 135 หน้า
- เจาะข้อสอบ 1,000 ข้อ กฎหมายภาค ก. ท้องถิ่น จำนวน 219 หน้า