สรุปเนื้อหา พร้อมแนวข้อสอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560

คู่มือเตรียมสอบภาค ก. พร้อมเจาะข้อสอบ 1,000 ข้อ

ภาค ก. ครบชุด 2 เล่ม เนื้อหาวิชาความสามารถทั่วไป วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (กฎหมาย 13 ฉบับ) วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ พร้อมเจาะข้อสอบ 1,000 ข้อ ราคา 990.- จัดส่งฟรี

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้ยกร่าง รัฐบาลเป็นผู้ตราเริ่มใช้ ณ วันที่ 6 เมษายน 2560 (วันเริ่มใช้รัฐธรรมนูญ คือวันเดียวกันกับวันที่ลงนามรับรองและประกาศ) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) เป็นผู้ลงนามรับรอง

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้

มีทั้งหมด 16 หมวด 279 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก โดยมีรายละเอียดดังนี้

หมวด 1 บททั่วไปหมวด 2 พระมหากษัตริย์
หมวด 3  สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยหมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย
หมวด 5  หน้าที่ของรัฐหมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ
หมวด 7  รัฐสภา
ส่วนที่ 1 บททั่วไป
ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร
ส่วนที่ 3 วุฒิสภา
ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง
ส่วนที่ 5 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา
หมวด 8  คณะรัฐมนตรี
หมวด 9  การขัดกันแห่งผลประโยชน์หมวด 10 ศาล
ส่วนที่ 1 บททั่วไป
ส่วนที่ 2 ศาลยุติธรรม
ส่วนที่ 3 ศาลปกครอง
ส่วนที่ 4 ศาลทหาร
หมวด 11 ศาลรัฐธรรมนูญหมวด 12 องค์กรอิสระ
ส่วนที่ 1 บททั่วไป
ส่วนที่ 2 คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ส่วนที่ 3 ผู้ตรวจการแผ่นดิน
ส่วนที่ 4 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ส่วนที่ 5 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ส่วนที่ 6 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
หมวด 13 องค์กรอัยการหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น
หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ

เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ผู้ตราคือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้ยกร่างคือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ลงนามรับรองคือ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

บททั่วไป

ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ (ความเป็นรัฐเดียว ม.1)

ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (รูปแบบการปกครอง ม.2)

อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไป ตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของ ประชาชนโดยรวม

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ยอมได้รับความคุ้มครองปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้

คณะองค์มนตรี

คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คนประกอบเป็นคณะองคมนตรี การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่น ของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง หรือข้าราชการเว้นแต่การเป็นข้าราชการในพระองค์ ในตำแหน่งองคมนตรีและต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ

ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี และองคมนตรี

  1. ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
  2. ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่นหรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตำแหน่ง

หน้าที่ของปวงชนชาวไทย

  1. พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  2. ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิผลประโยชน์ของชาติและสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  3. ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
  4. เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ
  5. รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ
  6. เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่กระทำการใดที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม
  7. ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสำคัญ
  8. ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม
  9. เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
  10. ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ

หน้าที่ของรัฐ

น้าที่ของรัฐ มี 12 ประการ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า “รัฐต้อง” เช่น

1. รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์เอกราช อธิปไตย บูรณภาพ แห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพื่อประโยชน์แห่งการนี้รัฐต้องจัดให้มีการทหาร การทูต และการข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ

ข้อสอบถามหน้าที่ของรัฐ ให้หาคำว่า “รัฐต้อง”

แนวนโยบายแห่งรัฐ

แนวนโยบายแห่งรัฐ มี 14 ประการ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า “รัฐพึง” เช่น

1. รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล

ข้อสอบถามแนวนโยบายแห่งรัฐ ให้หาคำว่า “รัฐพึง”

รัฐสภา

องค์ประกอบของรัฐสภา

รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
รัฐสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกัน ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ บุคคลจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกันมิได้

ประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภา

ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา
ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้ ให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน

สภาผู้แทนราษฎร

สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยแบ่งเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 350 คน และสมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจำนวน 150 คน

วุฒิสภา

วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 200 คน ซึ่งมาจากการเลือกกันเอง ของบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงาน หรือเคยทำงานด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายของสังคม

ข้อสอบเรื่อง ส.ว. ต้องดูให้ดี ถ้า ส.ว. ตามหมวด 7 ส่วนที่ 3 จะมีวุฒิสภาจำนวน 200 คน แต่ถ้าเป็น ส.ว. ตามบทเฉพาะกาลจะมีวุฒิสภา จำนวน 250 คน

คณะรัฐมนตรี

พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน การเสนอชื่อต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา โดยองค์คณะ ผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือผู้พิพากษา อาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คนแต่ไม่เกิน 9 คนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยให้เลือกเป็นรายคดี

ศาลรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 9 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

คณะกรรมการการเลือกตั้ง

คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

ผู้ตรวจการแผ่นดิน

ผู้ตรวจการแผ่นดินมีจำนวน 3 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประกอบด้วย กรรมการจำนวน 9 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหา โดยคณะกรรมการสรรหา มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหา มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภาและให้รัฐสภาพิจารณาเป็น 3 วาระ โดยมีกลุ่มผู้มีสิทธิในการเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ดังนี้

  1. คณะรัฐมนตรี
  2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
  3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
  4. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

การปฏิรูปประเทศ

เป้าหมายของการปฏิรูปประเทศ

  1. ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจ
  2. สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ
  3. ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ห้วงเวลาและขั้นตอนการปฏิรูป

การปฏิรูปประเทศตามให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีวิธีการ จัดทำแผน การมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนในการดำเนินการปฏิรูปประเทศ การวัดผลการดำเนินการ และระยะเวลาดำเนินการปฏิรูปประเทศทุกด้าน ซึ่งต้องกำหนดให้เริ่มดำเนินการปฏิรูป ในแต่ละด้านภายใน 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้รวมตลอดทั้งผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังว่าจะบรรลุ ในระยะเวลา 5 ปี

ด้านที่ต้องปฏิรูป

ด้านที่ต้องปฏิรูปที่กำหนดไว้ในหมวด 16 การปฏิรูประเทศ ได้แก่ ด้านการเมือง ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ และด้านอื่นๆ

บทเฉพาะกาล

สมาชิกวุฒิสภา 250 คน

ในวาระเริ่มแรก ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคำแนะนำ อายุของวุฒิสภามีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาเริ่มตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง


แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญ 20 ข้อ

1. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560

 
 
 
 

2. องค์กรใดทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560

 
 
 
 

3. มาตรา 1 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกล่าวถึงราชอาณาจักรในเรื่องใด

 
 
 
 

4. พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาอธิปไตยผ่านทางใด

 
 
 
 

5. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับจำนวนคณะองคมนตรี

 
 
 
 

6. ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี

 
 
 
 

7. รัฐสภาประกอบด้วย

 
 
 
 

8. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดเป็นประธานรัฐสภา

 
 
 
 

9. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดเป็นรองประธานรัฐสภา

 
 
 
 

10. สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดจำนวนกี่คน

 
 
 
 

11. สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งมีจำนวนกี่คน

 
 
 
 

12. สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อมีจำนวนกี่คน

 
 
 
 

13. วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน

 
 
 
 

14. วุฒิสภาจาก

 
 
 
 

15. ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวนกี่คน

 
 
 
 

16. ผู้ตรวจการแผ่นดินมีจำนวนกี่คน

 
 
 
 

17. คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีจำนวนกี่คน

 
 
 
 

18. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีกรรมการจำนวนกี่คน

 
 
 
 

19. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินประกอบด้วยกรรมจำนวนกี่คน

 
 
 
 

20. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่ง ตามข้อใด

 
 
 
 


BoxSet พิชิตข้อสอบท้องถิ่น 67

BoxSet พิชิตข้อสอบท้องถิ่น 67 วิดีโอติวภาค ก. กฎหมาย 11 ฉบับ จำนวน 34 ชั่วโมง พร้อมคู่มือเตรียมสอบภาค ก. วิชาความสามารถในการศึกษาวิเคราะห์และสรุปเหตุผล วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ และเจาะข้อสอบกฎหมายภาค ก. ท้องถิ่น 1,000 ข้อ ราคา 1,990.- จัดส่งฟรี